ชีวิตในวัยเยาว์ ของ เลิศ อัศเวศน์

ในช่วง อายุ 8-14 ปี (2473-2477) สยามประเทศประสบภาวะข้าวยากหมากแพงเศรษฐกิจตกต่ำหนักหน่วงอย่างไม่เคยเจอะเจอมาก่อน ร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์ซึ่งพ่อแม่จับทำมานานมีอันต้องปิดลง อีกทั้งมีหนี้สินล้นพ้นตัว ความเป็นอยู่ในครอบครัวย่ำแย่มาก ในวันอาทิตย์โรงเรียนหยุด เลิศไปรับจ้างขนดินปั้นหม้อตาลขึ้นไปวางในเตาเผา ได้ค่าแรงวัน ละ 30 สตางค์

การศึกษา

อายุ 8-14 ขวบ เข้าเรียนที่โรงเรียน(ศาลา)วัดอัมพวันเจติยาราม อายุ 12-14 ปี โรงเรียนเกษตรกรรม ประจำอำเภออัมพวา อายุ 15-17 ปี โรงเรียนฝึกหัดครู ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม อายุ 18-19 ปี โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา จบชั้นมัธยมปีที่ 8 จากนั้นไม่ได้ศึกษาต่อ

ประสบการณ์ด้านการงาน

ขณะเรียนชั้น ม .7 (2494) เชาแต่งนิยายเยาวชน 9 เรื่อง ขายให้สำนักพิมพ์เพลินจิต จัดพิมพ์จำหน่ายเล่มละ 5 สตางค์ โดย ครู เหม เวชกร วาดภาพประกอบ

ในเดือน สิงหาคม 2488 เข้าทำงานเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ สุภาพบุรุษ-ประชามิตรรายวัน ซึ่งคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นบรรณาธิการ ได้ค่าจ้างรายวัน ๆ ละ 9 บาทเขาผ่านงานหนังสือพิมพ์รายวัน 5 หัวชื่อ คือ ผู้สื่อข่าวสุภาพบุรุษ-ประชามิตร, ผู้ช่วยบรรณาธิการอิสระธรรม, บรรณาธิการหลักไทย, บรรณาธิการข่าวภาพ, หัวหน้ากองอำนวยการไทยรัฐ

งานหนังสือพิมพ์ เขาให้สัมภาษณ์ นิตยสารไทยโพสต์ซันเดย์ ว่า "ผมลงทุนปั้นชีวิตด้วยปากกาหนึ่งด้าม กับหัวสมองโตเท่ากำปั้นอีกหนึ่งหัวแค่นั้นเอง" เอกลักษณ์ของ เลิศ อัศเวศน์ คือ ทุ่มชีวิตให้กับงานหนังสือพิมพ์แต่อย่างเดียว โดยไม่เคยเปลี่ยนเป็นอื่นเลย "ผมพร้อมที่จะวางมือทันทีเมื่อการบุกเบิกสำเร็จเสร็จสรรพ"

เลิศ อัศเวศน์ เป็นผู้โน้มน้าวชักนำ นายกำพล วัชรพล เข้าสู่วงการหนังสือพิมพ์[1] เริ่มต้นพิมพ์ "ข่าวภาพรายสัปดาห์"( 1 มกราคม 2493) จากนั้นพัฒนาเป็น "ข่าวภาพรายสามวัน (1 ตุลาคม 2494) โดยเขาเป็นบรรณาธิการ แล้วก็เป็น "ข่าวภาพรายวัน (1 มิถุนายน 2495) จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติ (20 ตุลาคม 2501) ออกคำสั่งปิดตาย "ข่าวภาพรายวัน" กำพล วัชรพล ได้เช่าหัวชื่อ "เสียงอ่างทอง" หนังสือพิมพ์รายวันออกในต่างจังหวัดมาพิมพ์ในกรุงเทพฯ (1 พฤษภาคม 2502) แล้วก็พัฒนาเปลี่ยนเป็น "ไทยรัฐ" (25 ธันวาคม 2505)

เลิศ อัศเวศน์ เป็นผู้ริเริ่มชักนำเพื่อนร่วมวิชาชีพก่อตั้งสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย เริ่มต้นด้วยความปรารถนาให้มีสถาบันวิฃาฃีพเฉพาะทางนักข่าวเกืดขึ้นในประเทศไทย เพื่อขจัดมิจฉาชีพแปลกปลอมออกไปจากวงการนักข่าว หรือป้องกันแก้ไขปัญหาพฤติกรรมนักข่าวบางคนที่เป็นนักรีดไถหรือกระทำการแบล๊คเมล์ โดยสถาบันวางมาตรการตราจรรยาบรรณ ทำการออกบัตรประจำตัวของนักข่าว ผู้ที่ฝ่าฝืนจรรยาบรรณจะต้องถูกยึดบัตรมิอาจประกอบอาฃีพนักข่าวอย่างเด็ดขาด โดยนายอกชัย วิทยะ บันทึกลงในเว็บไซด์ของเขาว่าเลิศ อัศเวศน์[2] กล่าวเปิดประฃุมเป็นคนแรกได้เสนอมาตรการดังกล่าว (มาตรการนี้ถูกให้สมญาว่า "บัญญัติ 10 ประการ") การประฃุมปฐมฤกษ์มีขึ้น ณ ศาลานเรศวร สวนลุมพินี ในวันที่ 5 มีนาคม 2498 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูฃา พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 1,250 รูปมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกัน([3]

สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ประกาศ เกียรติคุณยกย่อง ให้ เลิศ อัศเวศน์ เป็นนักหนังสือพิมพ์ดีเด่น ประจำ ปี 2536

ปัจจุบัน เลิศ อัศเวศน์ปฏิบัติ หน้าที่เป็นที่ปรึกษาฝ่ายบริหาร นสพ.ไทยรัฐ และ กรรมการ มูลนิธิ ไทยรัฐ ในวัน ที่ 30 มีนาคม 2553 ซึ่ง ครบรอบวันเกิดปีที่ 89 ปี มีผู้กล่าวซึ่งยังมิได้มีข้อมูลยืนยันว่า เลิศ อัศเวศน์ เป็นนักหนังสือพิมพ์อายุมากที่สุดของประเทศที่ยังประจำทำงานอยู่ )[4]

งานการประพันธ์

นอกเหนืองานหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นงานประจำ เขายังมีงานเสริมด้วยการเขียนนวนิยาย - สารคดี ขายให้สำนักพิมพ์ คลังวิทยา วังบูรพา ต่อเนื่องกัน 17 เล่ม เล่มที่ขายดีได้แก่ โลกของ ซูซี่ วอง --อาจารย์วิภาวี -- ร้อยพิศวาส - เปลวสวาท - แจ๊คลีน เคนเนดี้ สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง - พะเนียงรัก (สร้างเป็นภาพยนตร์ โดย รังสี ทัศนพยัคฆ์) ส่วนที่พิมพ์เองขายเอง ได้แก่ ชุดหนังสือ "โรงซ่อมสุขภาพ "จำนวน 51 เล่ม

อ้างอิง

  1. http://www.thairath.co.th/corp?subMenu=kumpol ประวัติ ผอ.กำพล วัชรพล
  2. http://ppnpthan.ning.com/profiles/blogs/3478912:BlogPost:10483 5 มีนา วันนักข่าวไทย
  3. http://www.tja.or.th/index.php?option=com การต่อสู้ของสมาคม
  4. http://www.bangkokbiznews.com/jud/wan/20080302/news.php?news ธุรกิจบนกองกระดาษ
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล

ใกล้เคียง

เลิศ ชินวัตร เลิศรัตน์ รัตนวานิช เลิศ อัศเวศน์ เลิศศิลา ชุมแพทัวร์ เลิศ หงษ์ภักดี เลิศไทย ใหม่เมืองคอน เลิศทะเล เลือดระยอง เลิศศิลา สิงห์มนัสศักดิ์ เลิศ เศรษฐบุตร เลิศชาย